วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556


                   เทคโนโลยี        Cloud Computing


    Cloud Computing  คือ วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากรรวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับ ความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลาโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำ งานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร

นิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ต่อไปนี้
ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ
สำหรับCloud Computingแล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร(resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ(requirement) จากนั้นบริการ(service)ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
Anywhere! Anytime! ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงไหนก็ตาม ขอแค่มีอินเตอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์สักตัว คุณก็ทำงานได้ตลอดเวลา ตามที่คุณต้องการแล้ว
cloud coputing technology
การทำงานคร่าวๆของ Cloud Computing แบ่งออกได้ 2 ฝั่ง คือ Client กับ Server โดยการทำงานที่ฝั่ง Client ไม่มีอุปกรณ์อะไรยุ่งยาก นอกจากคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆเพียงเครื่องเดียว ใช้ Internet Browser สักตัวมาเปิดแล้วก็ทำงานได้เลย ทำให้คุณไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรมากมายให้นักเครื่องอีกต่อไป ซึ่งต่างกับฝั่ง Server ซึ่งจะมีคุณสมบัติต่างๆมากมายเต็มไปหมด ในปัจจุบันอาจจะดูได้จากการทำงานร่วมกันของระบบ Google Chrome ไม่ว่าจะเป็น Google Doc, Google Calendar เป็นต้น
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Cloud Computing มีอะไรบ้าง
  • Agility ผู้ใช้จะรู้สึกเหมือนทุกอย่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว
  • Cost ช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กร
  • Device and location independence ทุกที่ทุกเวลา ขอแค่คอมพิวเตอร์ กับ Internet Connection
  • Multi-tenancy สามารถแบ่างทรัพยากรไปให้ผู้ใช้จำนวนมาก
  • Reliability ความน่าเชื่อถือ มีความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยคุกคามข้อมูลต่างๆมากแค่ไหน
  • Scalability พร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการ … ความต้องการของผู้ใช้ และเตรียมรองรับเทคโนโลยีหลายๆรูปแบบ
  • Security สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ และยิ่งใน Cloud Computing แล้วข้อมูลอรวมอยู่ที่เดียวกัน ก็ยิ่งต้องเพิ่มความปลอดภัยให่มากยิ่งขึ้น
  • Sustainability โครงสร้างที่แข็งแรงต้องอาศัยความแข็งจากทุกส่วนรวมกัน
อนาคตนะครับ Notebook ประสิทธิภาพสูงๆ คงไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะ Cloud Computing ทำหน้าที่แทนให้เกือบหมด ใช้แค่ Netbook เล็กๆก็เพียงพอ
Image
Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่ในปัจจุบันนี้กำลังได้รับการจับตามองอย่างมาก และกำลังอยุ่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งพร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นธุรกิจที่ขยายวงกว้างมากขึ้นโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ โดยในปัจจุบันนี้นั้นเทคโนโลยี Cloud Computing นั้น ได้รับการสนับสนุนทางด้านปัจจัยในเรื่องของโครงข่ายข้อมูลที่กำลังพัฒนาไป ได้อย่างรวดเร็ว โดยเจ้าเทคโนโลยีนี้สามารถเชื่อมต่อความเร็วสูงและรองรับข้อมูล มัลติมีเดียและสื่อดิจิตอลสมัยๆอย่างอื่นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ Cloud Computing นั้นสร้างความสนใจกับบรรดาเหล่าบริษัทน้อยใหญ่ขึ้นมาเป็นอย่างมาก
Image
โดยองค์ประกอบของการใช้บริการจาก Cloud Computing นั้น เพียงผู้ใช้งานนั้นมีเพียงแค่อินเตอร์เนทก็สามารถใช้งานบริการนี้ได้แล้ว วึ่งในปัจจุบันนั้นมีผู้ที่ให้บริการต่างๆมากมายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปจน ถึง ขนาดใหญ่ โดยมีรูปแบบออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานมากแบบแยกชิ้นมากยิ่่งขึ้น นั้นก็คือ ผู้ใช้งานนั้นสามารถเลือกใช้ประเภทการให้บริการและจำนวน application ต่างๆ ตามความต้องการในการใช้งานจริง โดยจะเสียค่าใช้งานได้ตามปริมาณที่เราเลือกใช้งาน
Image
โดยการเข้ามาขของเทคโนโลยีนี้ในประเทศไทยนั้น เริ่มจะมีการพูดถึงและใช้งานอย่างแพร่หลายแล้วในปัจจุบันนี้ โดยไม่เพียงแค่องค์กรขนาดใหญ่เพียงเท่านั้น ทั้ง ธุรกิจขนาดเล็กรวมไปถึงบุคคลทั่วไปก็ยังทำการใช้บริการเหล่านี้อยู่ จึงทำให้ในปัจจุบันนี้นั้น เทคโนโลยี คลาวด์นี้นั้นได้ผลตอบรับค่อนข้างดีจากคนในทั่วทุกมุมโลกเลยหละครับ

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

DLNA

                                    DLNA      

DLNA หรือ Digital Living Network Alliance คงจะเคยเห็นกันในโน้ตบุ๊คหลายยี่ห้อ ซึ่งเจ้าไอคอนนี้ เป็นเหมือนเครื่องหมาย ที่แสดงว่าเป็นมาตรฐานในอปกร์ชิ้นนั้น ที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้ในเรื่องของ Digital Living Network Alliance ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" ซึ่ง DLNA เริ่มก่อตั้งในปี 2003 เพื่อให้บริษัทต่างๆทั่วโลก ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ และในวันนี้ก็มีกว่า 245 บริษัท ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทำงานร่วมกับ DLNA ได้ แล้วก็ทำงานของมันจะเป็นในระบบแบบใด สามารถดูได้จากภาพด้านล่างครับ
 

การเชื่อมต่อของDLNA 
 หรือ Digital Living Network Alliance คงจะเคยเห็นกันในโน้ตบุ๊คหลายยี่ห้อ ซึ่งเจ้าไอคอนนี้ เป็นเหมือนเครื่องหมาย ที่แสดงว่าเป็นมาตรฐานในอปกร์ชิ้นนั้น ที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้ในเรื่องของ Digital Living Network Alliance ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" ซึ่ง DLNA เริ่มก่อตั้งในปี 2003 เพื่อให้บริษัทต่างๆทั่วโลก ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆDLNA (Digital Living Network Alliance) เป็นชื่อเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานหรือข้อตกลงการเชื่อมต่อเพื่อให้อุปกรณ์อิ เล็คทรอนิคส์ภายในบ้าน เชื่อมต่อกันได้ง่ายๆแบบไร้สาย ทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทีวี กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นวีดีโอ ปริ้นเตอร์ กล้องวีดีโอ และอื่นๆที่รองรับ DLNA นี้ สามารถแชร์ซึ่งกันและกันได้ ไม่ว่าจะดูภาพยนต์ ดูภาพถ่าย ดูวีดีโอที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ มือถือ tablet หรือในกล้องให้จอใหญ่ขึ้น ดูได้หลายคน ก็แค่แชร์ขึ้นไปบนทีวีโดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย การประชุมในห้องประชุมก็จะ สะดวกขึ้น ผู้ที่ร่วมประชุม สามารถส่งภาพ หรือวีดีโอ ขึ้นไปแสดงบนจอสมาร์ททีวีในห้องประชุมเพื่อประกอบการนำเสนอได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องใช้สายต่อให้วุ่นวายให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ และในวันนี้ก็มีกว่า 245 บริษัท ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทำงานร่วมกับ DLNA ได้ แล้วก็ทำงานของมันจะเป็นในระบบแบบใด สามารถดูได้จากภาพด้านล่างครับ

DLNA เชื่อมต่อกันได้ง่ายๆแบบไร้สาย

By on

DLNA (Digital Living Network Alliance) เป็นชื่อเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานหรือข้อตกลงการเชื่อมต่อเพื่อให้อุปกรณ์อิ เล็คทรอนิคส์ภายในบ้าน เชื่อมต่อกันได้ง่ายๆแบบไร้สาย ทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทีวี กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นวีดีโอ ปริ้นเตอร์ กล้องวีดีโอ และอื่นๆที่รองรับ DLNA นี้ สามารถแชร์ซึ่งกันและกันได้ ไม่ว่าจะดูภาพยนต์ ดูภาพถ่าย ดูวีดีโอที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ มือถือ tablet หรือในกล้องให้จอใหญ่ขึ้น ดูได้หลายคน ก็แค่แชร์ขึ้นไปบนทีวีโดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย การประชุมในห้องประชุมก็จะ สะดวกขึ้น ผู้ที่ร่วมประชุม สามารถส่งภาพ หรือวีดีโอ ขึ้นไปแสดงบนจอสมาร์ททีวีในห้องประชุมเพื่อประกอบการนำเสนอได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องใช้สายต่อให้วุ่นวาย

เทคโนโลยี DLNA นี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก่อตั้งโดยค่าย SONY ปัจจุบันนี้มีสมาชิก 225 ราย รวมทั้งแบรนด์ดังหลายแบรนด์ เช่น LG Samsung Huawei intel Motorola cisco hp ericsson และอีกหลายราย ซึ่งทีวีสมัยใหม่และอุปกรณ์อื่นๆเช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอ ในสเปคกลางถึงสูง ก็จะมีเทคโนโลยีนี้ติดตัวมาด้วยทั้งนั้น ซึ่งก็รวมถึง LG ใช้ชื่อ Smart Share ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับมาตรฐานกลางคือ DLNA แม้จะคนละแบรนด์ แต่ก็ยังสามารถส่งถึงกันได้

ประโยชน์ของ DLNA นี้คือสามารถส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวีสำหรับการนำเสนอได้ง่ายๆผ่านทาง Wi-Fi ได้เลย ไม่ต้องต่อสายพวก VGA ติดกับคอม หรือสาย Analog เชื่อมกับตัวเครื่องเล่นให้วุ่นวาย และทำให้รกรุงรัง แน่นอนว่าทำให้การสร้าง home network ทำได้ง่ายดาย หลายๆคนก็นำมาทำเป็น media center โดยใข้คอมพิวเตอร์ส่งภาพ วีดีโอ หรือดูหนังได้บนจอทีวีใหญ่ๆ ผ่านทาง DLNA นี้
โดย smart TV และ มือถือ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวี แบบไร้สายนี้ จะต้องรองรับเทคโนโลยี DLNA ด้วยกัน โดยวิธีสังเกตอย่างง่ายๆ คือดูที่กล่องหรือตัวเครื่องว่ามีสัญลักษณ์ DLNA หรือไม่ และ ทั้ง smart TV และมือถือ หรือ Tablet หรือ คอมพิวเตอร์นั้นๆ จะต้องเชื่อมต่ออยู่ในวง Wi-Fi เดียวกันกับทีวี ด้วย

สำหรับวิธีแสดงวีดีโอหรือรูปภาพออกสู่จอสมาร์ททีวีด้วยเทคโนโลยี DLNA นี้ ทำได้ง่ายๆ
ขั้นแรกก็ เชื่อมต่อมือถือ smart Phone ที่รองรับ DLNA กับ Wi-Fi ที่อยู่ในวงเดียวกันกับที่ทีวีเชื่อมต่ออยู่ โดยตัวทีวีแบบสมาร์ททีวีนั้นจะเชื่อมต่อเข้ากับ network ด้วย Wi-FI dongle หรือจะเสียบผ่านสาย LAN ก็ได้ และยิ่ง บางรุ่นที่ราคาแพงงหน่อยก็มี Wi-Fi built-in มาเลยในตัวทีวี
จากนั้น ลองเลือกรูปภาพ หรือวีดีโอในมือถือของเรา จากนั้น ก็กดปุ่ม ที่แชร์ผ่าน… เพื่อแสดงเมนูขึ้นมาบนมือถือ LG ก็จะเจอกับปุ่ม Smart Share นี้จะมาพร้อมอยู่แล้วติดอยู่กับมือถือเลย โดยไม่ต้องโหลดผ่านทาง Google Play แต่พวก DLNA ในมือถือเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมากับมือถือราคาระดับกลางๆ จนถึงราคาระดับแพงๆ
เมื่อเลือก smartshare เพื่อนำฉายภาพผ่านทาง DLNA ก็จะเจอรายชื่อของอุปกรณ์ที่เราจะแชร์ได้ ไม่ว่าจะเป็นทีวี หรือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่รองรับ DLNA นี้ ก็เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการ เช่นผ่านทีวีก็เลือกรหัสรุ่นของทีวีนี้ เพียงแค่นี้ ภาพ หรือวีดีโอที่เลือก ก็จะปรากฏบนทีวีแล้ว และยังสามารถแชร์จากคอมพิวเตอร์ หรือ กล้องดิจิตอล ที่มี DLNA นี้ ให้ขึ้นบนทีวีก็ได้ด้วยเช่นกัน และเทคโนโลยี DLNA นี้นำมาทำเป็น MediaCenter เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน




                                                    การทำงาม



       อุปกรณ์ DLNA ใช้โปรโตคอล Universal Plug and Play (UPnP)  ที่สนับสนุนฟังก์ชันการทำงานแบบพลักแอนด์เพลย์เพียร์ทูเพียร์สำหรับอุปกรณ์เครือข่าย ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับ UPnP การออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์ และติดตั้งบริการของเครือข่าย และการจัดการ UPnP ทำการค้นพบอุปกรณ์และบริการและการควบคุมผ่านทางกลไก driverless มาตรฐานโดยใช้โพรโทคอล อุปกรณ์ universal Plug and Play สามารถกำหนดค่าเครือข่ายที่กำหนด ประกาศสถานะการออนไลน์ของตนบนเครือข่ายย่อยของเครือข่าย และโดยอัตโนมัติโดยการอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนของคำอธิบายของอุปกรณ์และบริการ คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่เป็นจุดควบคุม UPnP เพื่อค้นหา และอุปกรณ์ผ่านทางอินเทอร์เฟซแบบเว็บหรือโปรแกรมควบคุม  ซึ่งใช้ในการจัดการ media (Media Management), การค้นพบ (Discovery) และการควบคุม (Control) ซึ่งจะช่วยกำหนดประเภทของอุปกรณ์ที่สนับสนุน DLNA ("Server", "Renderer", "Controller") และกลไกสำหรับการเข้าถึงสื่อผ่านเครือข่าย
เพื่อให้การกำหนดลักษณะของอุปกรณ์ได้ดีขึ้นและบริการที่พวกเขาได้เสนอแนวทางการทำงานร่วมกันของDLNA ได้จัดอุปกรณ์เป็น12 คลาสและแยกออกจัดออกเป็นสามหมวดหมู่อุปกรณ์ ดังรูปภาพต่อไปนี้


รูปที่3 แสดงชั้นของอุปกรณ์ DLNA
1.หมวดอุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้าน (Home Network Device: HND) 
ถูกจัดเป็นห้าคลาสที่ใช้ในเครือข่ายภายในบ้านโดยพึ่งพารูปแบบสื่อเดียวกันและความต้องการเชื่อมต่อเครือข่าย
                        1.1 Digital Media Servers (DMS) ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้อุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้านสามารถดึงไฟล์ไปใช้ได้
                                1.2 Digital media players (DMP) ค้นหาเนื้อหาที่นำเสนอโดย DMS เพื่อทำการเล่นและการแสดงผล เช่น ทีวีดิจิตอล
                                1.3 Digital media renders (DMR) ทำตัวเป็นนักแสดงที่ดี DMS โยนอะไรไปให้หรือ DMC ดึงอะไรจาก DMS มาให้ ก็จะแสดงไปตามนั้น 
                                (โหมดที่    ตัวเองกลายเป็นผู้แสดงผลภาพ,เสียงหรือวีดีโอจากเครื่องอื่น)
1.4 Digital media controllers (DMC) ทำตัวเองเป็น นายคน ดึงไฟล์จากเครื่องหนึ่ง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องหนึ่ง
1.5 Digital Media Printer (DMPr) ให้บริการการพิมพ์ผ่านเครือข่าย DLNA ภายในบ้าน เช่น เครื่องพิมพ์ภาพระบบเครือข่าย 
   (Networked Photo Printer)
               
2.หมวดอุปกรณ์มือถือแบบพกพา (The Mobile Handheld Device: MHD) ถูกจัดเป็นห้าคลาสที่ใช้รูปแบบเดียวกัน HND Device แต่มีความต้องการที่แตกต่างกันสำหรับรูปแบบสื่อและการเชื่อมต่อเครือข่าย
                        2.1 Mobile Digital Media Server (M-DMS) ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้อุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้านสามารถดึงไฟล์ไปใช้ได้ อุปกรณ์ M-DMS     แตกต่างจากอุปกรณ์ DMS ในการที่พวกมันสนับสนุนรูปแบบที่เหมาะสำหรับอุปกรณ์มือถือ มาร์ทโฟนและเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา
                        2.2 Mobile Digital Media Player (M-DMP) ค้นหาเนื้อหาที่นำเสนอโดย M-DMS และให้ความสามารถในการเล่นและการแสดงผลเป็นสื่อที่ออกแบบมาสำหรับการดูเนื้อหาแบบมัลติมีเดียเหมาะสำหรับอุปกรณ์มือถือ แท็บเล็ต ฯลฯ
                        2.3 Mobile Digital Media Controller (M-DMC) มีความสามารถในการดึงเนื้อหาสื่อจากเครื่องหนึ่ง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องหนึ่ง
                        2.4 Mobile Digital Media Uploader (M-DMU) ทำหน้าที่ในการอัพโหลดเนื้อหาไปยัง M-DMS ตัวอย่างของ อุปกรณ์ M-DMU เช่น กล้องดิจิตอลและกล้องโทรศัพท์
                        2.5 Mobile Digital Media Downloader (M-DMD) ค้นหาและดาวน์โหลดเนื้อหาที่ M-DMS และเล่นเนื้อหาภายใน M-DMD หลังจากดาวน์โหลดตัวอย่างของอุปกรณ์ M-DMD เครื่องเล่นเพลงแบบพกพา
        3. หมวด Home Infrastructure Device (HID) หมวดนี้ถูกจัดเป็น 2 คลาส อุปกรณ์เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ HNDs และการทำงานร่วม MHDs
                        3.1 Media Interoperability Unit (MIU) เป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนแปลงเนื้อหาระหว่างรูปแบบสื่อที่จำเป็นสำหรับหมวด HND Device และหมวด MHD Device
                        3.2 Mobile Network Connectivity Function (M-NCF) เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมระหว่างเชื่อมต่อเครือข่าย MHD และการเชื่อมต่อเครือข่าย HND