วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

DLNA

                                    DLNA      

DLNA หรือ Digital Living Network Alliance คงจะเคยเห็นกันในโน้ตบุ๊คหลายยี่ห้อ ซึ่งเจ้าไอคอนนี้ เป็นเหมือนเครื่องหมาย ที่แสดงว่าเป็นมาตรฐานในอปกร์ชิ้นนั้น ที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้ในเรื่องของ Digital Living Network Alliance ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" ซึ่ง DLNA เริ่มก่อตั้งในปี 2003 เพื่อให้บริษัทต่างๆทั่วโลก ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ และในวันนี้ก็มีกว่า 245 บริษัท ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทำงานร่วมกับ DLNA ได้ แล้วก็ทำงานของมันจะเป็นในระบบแบบใด สามารถดูได้จากภาพด้านล่างครับ
 

การเชื่อมต่อของDLNA 
 หรือ Digital Living Network Alliance คงจะเคยเห็นกันในโน้ตบุ๊คหลายยี่ห้อ ซึ่งเจ้าไอคอนนี้ เป็นเหมือนเครื่องหมาย ที่แสดงว่าเป็นมาตรฐานในอปกร์ชิ้นนั้น ที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้ในเรื่องของ Digital Living Network Alliance ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" ซึ่ง DLNA เริ่มก่อตั้งในปี 2003 เพื่อให้บริษัทต่างๆทั่วโลก ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆDLNA (Digital Living Network Alliance) เป็นชื่อเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานหรือข้อตกลงการเชื่อมต่อเพื่อให้อุปกรณ์อิ เล็คทรอนิคส์ภายในบ้าน เชื่อมต่อกันได้ง่ายๆแบบไร้สาย ทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทีวี กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นวีดีโอ ปริ้นเตอร์ กล้องวีดีโอ และอื่นๆที่รองรับ DLNA นี้ สามารถแชร์ซึ่งกันและกันได้ ไม่ว่าจะดูภาพยนต์ ดูภาพถ่าย ดูวีดีโอที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ มือถือ tablet หรือในกล้องให้จอใหญ่ขึ้น ดูได้หลายคน ก็แค่แชร์ขึ้นไปบนทีวีโดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย การประชุมในห้องประชุมก็จะ สะดวกขึ้น ผู้ที่ร่วมประชุม สามารถส่งภาพ หรือวีดีโอ ขึ้นไปแสดงบนจอสมาร์ททีวีในห้องประชุมเพื่อประกอบการนำเสนอได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องใช้สายต่อให้วุ่นวายให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ และในวันนี้ก็มีกว่า 245 บริษัท ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทำงานร่วมกับ DLNA ได้ แล้วก็ทำงานของมันจะเป็นในระบบแบบใด สามารถดูได้จากภาพด้านล่างครับ

DLNA เชื่อมต่อกันได้ง่ายๆแบบไร้สาย

By on

DLNA (Digital Living Network Alliance) เป็นชื่อเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานหรือข้อตกลงการเชื่อมต่อเพื่อให้อุปกรณ์อิ เล็คทรอนิคส์ภายในบ้าน เชื่อมต่อกันได้ง่ายๆแบบไร้สาย ทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทีวี กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นวีดีโอ ปริ้นเตอร์ กล้องวีดีโอ และอื่นๆที่รองรับ DLNA นี้ สามารถแชร์ซึ่งกันและกันได้ ไม่ว่าจะดูภาพยนต์ ดูภาพถ่าย ดูวีดีโอที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ มือถือ tablet หรือในกล้องให้จอใหญ่ขึ้น ดูได้หลายคน ก็แค่แชร์ขึ้นไปบนทีวีโดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย การประชุมในห้องประชุมก็จะ สะดวกขึ้น ผู้ที่ร่วมประชุม สามารถส่งภาพ หรือวีดีโอ ขึ้นไปแสดงบนจอสมาร์ททีวีในห้องประชุมเพื่อประกอบการนำเสนอได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องใช้สายต่อให้วุ่นวาย

เทคโนโลยี DLNA นี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก่อตั้งโดยค่าย SONY ปัจจุบันนี้มีสมาชิก 225 ราย รวมทั้งแบรนด์ดังหลายแบรนด์ เช่น LG Samsung Huawei intel Motorola cisco hp ericsson และอีกหลายราย ซึ่งทีวีสมัยใหม่และอุปกรณ์อื่นๆเช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอ ในสเปคกลางถึงสูง ก็จะมีเทคโนโลยีนี้ติดตัวมาด้วยทั้งนั้น ซึ่งก็รวมถึง LG ใช้ชื่อ Smart Share ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับมาตรฐานกลางคือ DLNA แม้จะคนละแบรนด์ แต่ก็ยังสามารถส่งถึงกันได้

ประโยชน์ของ DLNA นี้คือสามารถส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวีสำหรับการนำเสนอได้ง่ายๆผ่านทาง Wi-Fi ได้เลย ไม่ต้องต่อสายพวก VGA ติดกับคอม หรือสาย Analog เชื่อมกับตัวเครื่องเล่นให้วุ่นวาย และทำให้รกรุงรัง แน่นอนว่าทำให้การสร้าง home network ทำได้ง่ายดาย หลายๆคนก็นำมาทำเป็น media center โดยใข้คอมพิวเตอร์ส่งภาพ วีดีโอ หรือดูหนังได้บนจอทีวีใหญ่ๆ ผ่านทาง DLNA นี้
โดย smart TV และ มือถือ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวี แบบไร้สายนี้ จะต้องรองรับเทคโนโลยี DLNA ด้วยกัน โดยวิธีสังเกตอย่างง่ายๆ คือดูที่กล่องหรือตัวเครื่องว่ามีสัญลักษณ์ DLNA หรือไม่ และ ทั้ง smart TV และมือถือ หรือ Tablet หรือ คอมพิวเตอร์นั้นๆ จะต้องเชื่อมต่ออยู่ในวง Wi-Fi เดียวกันกับทีวี ด้วย

สำหรับวิธีแสดงวีดีโอหรือรูปภาพออกสู่จอสมาร์ททีวีด้วยเทคโนโลยี DLNA นี้ ทำได้ง่ายๆ
ขั้นแรกก็ เชื่อมต่อมือถือ smart Phone ที่รองรับ DLNA กับ Wi-Fi ที่อยู่ในวงเดียวกันกับที่ทีวีเชื่อมต่ออยู่ โดยตัวทีวีแบบสมาร์ททีวีนั้นจะเชื่อมต่อเข้ากับ network ด้วย Wi-FI dongle หรือจะเสียบผ่านสาย LAN ก็ได้ และยิ่ง บางรุ่นที่ราคาแพงงหน่อยก็มี Wi-Fi built-in มาเลยในตัวทีวี
จากนั้น ลองเลือกรูปภาพ หรือวีดีโอในมือถือของเรา จากนั้น ก็กดปุ่ม ที่แชร์ผ่าน… เพื่อแสดงเมนูขึ้นมาบนมือถือ LG ก็จะเจอกับปุ่ม Smart Share นี้จะมาพร้อมอยู่แล้วติดอยู่กับมือถือเลย โดยไม่ต้องโหลดผ่านทาง Google Play แต่พวก DLNA ในมือถือเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมากับมือถือราคาระดับกลางๆ จนถึงราคาระดับแพงๆ
เมื่อเลือก smartshare เพื่อนำฉายภาพผ่านทาง DLNA ก็จะเจอรายชื่อของอุปกรณ์ที่เราจะแชร์ได้ ไม่ว่าจะเป็นทีวี หรือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่รองรับ DLNA นี้ ก็เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการ เช่นผ่านทีวีก็เลือกรหัสรุ่นของทีวีนี้ เพียงแค่นี้ ภาพ หรือวีดีโอที่เลือก ก็จะปรากฏบนทีวีแล้ว และยังสามารถแชร์จากคอมพิวเตอร์ หรือ กล้องดิจิตอล ที่มี DLNA นี้ ให้ขึ้นบนทีวีก็ได้ด้วยเช่นกัน และเทคโนโลยี DLNA นี้นำมาทำเป็น MediaCenter เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน




                                                    การทำงาม



       อุปกรณ์ DLNA ใช้โปรโตคอล Universal Plug and Play (UPnP)  ที่สนับสนุนฟังก์ชันการทำงานแบบพลักแอนด์เพลย์เพียร์ทูเพียร์สำหรับอุปกรณ์เครือข่าย ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับ UPnP การออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์ และติดตั้งบริการของเครือข่าย และการจัดการ UPnP ทำการค้นพบอุปกรณ์และบริการและการควบคุมผ่านทางกลไก driverless มาตรฐานโดยใช้โพรโทคอล อุปกรณ์ universal Plug and Play สามารถกำหนดค่าเครือข่ายที่กำหนด ประกาศสถานะการออนไลน์ของตนบนเครือข่ายย่อยของเครือข่าย และโดยอัตโนมัติโดยการอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนของคำอธิบายของอุปกรณ์และบริการ คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่เป็นจุดควบคุม UPnP เพื่อค้นหา และอุปกรณ์ผ่านทางอินเทอร์เฟซแบบเว็บหรือโปรแกรมควบคุม  ซึ่งใช้ในการจัดการ media (Media Management), การค้นพบ (Discovery) และการควบคุม (Control) ซึ่งจะช่วยกำหนดประเภทของอุปกรณ์ที่สนับสนุน DLNA ("Server", "Renderer", "Controller") และกลไกสำหรับการเข้าถึงสื่อผ่านเครือข่าย
เพื่อให้การกำหนดลักษณะของอุปกรณ์ได้ดีขึ้นและบริการที่พวกเขาได้เสนอแนวทางการทำงานร่วมกันของDLNA ได้จัดอุปกรณ์เป็น12 คลาสและแยกออกจัดออกเป็นสามหมวดหมู่อุปกรณ์ ดังรูปภาพต่อไปนี้


รูปที่3 แสดงชั้นของอุปกรณ์ DLNA
1.หมวดอุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้าน (Home Network Device: HND) 
ถูกจัดเป็นห้าคลาสที่ใช้ในเครือข่ายภายในบ้านโดยพึ่งพารูปแบบสื่อเดียวกันและความต้องการเชื่อมต่อเครือข่าย
                        1.1 Digital Media Servers (DMS) ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้อุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้านสามารถดึงไฟล์ไปใช้ได้
                                1.2 Digital media players (DMP) ค้นหาเนื้อหาที่นำเสนอโดย DMS เพื่อทำการเล่นและการแสดงผล เช่น ทีวีดิจิตอล
                                1.3 Digital media renders (DMR) ทำตัวเป็นนักแสดงที่ดี DMS โยนอะไรไปให้หรือ DMC ดึงอะไรจาก DMS มาให้ ก็จะแสดงไปตามนั้น 
                                (โหมดที่    ตัวเองกลายเป็นผู้แสดงผลภาพ,เสียงหรือวีดีโอจากเครื่องอื่น)
1.4 Digital media controllers (DMC) ทำตัวเองเป็น นายคน ดึงไฟล์จากเครื่องหนึ่ง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องหนึ่ง
1.5 Digital Media Printer (DMPr) ให้บริการการพิมพ์ผ่านเครือข่าย DLNA ภายในบ้าน เช่น เครื่องพิมพ์ภาพระบบเครือข่าย 
   (Networked Photo Printer)
               
2.หมวดอุปกรณ์มือถือแบบพกพา (The Mobile Handheld Device: MHD) ถูกจัดเป็นห้าคลาสที่ใช้รูปแบบเดียวกัน HND Device แต่มีความต้องการที่แตกต่างกันสำหรับรูปแบบสื่อและการเชื่อมต่อเครือข่าย
                        2.1 Mobile Digital Media Server (M-DMS) ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้อุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้านสามารถดึงไฟล์ไปใช้ได้ อุปกรณ์ M-DMS     แตกต่างจากอุปกรณ์ DMS ในการที่พวกมันสนับสนุนรูปแบบที่เหมาะสำหรับอุปกรณ์มือถือ มาร์ทโฟนและเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา
                        2.2 Mobile Digital Media Player (M-DMP) ค้นหาเนื้อหาที่นำเสนอโดย M-DMS และให้ความสามารถในการเล่นและการแสดงผลเป็นสื่อที่ออกแบบมาสำหรับการดูเนื้อหาแบบมัลติมีเดียเหมาะสำหรับอุปกรณ์มือถือ แท็บเล็ต ฯลฯ
                        2.3 Mobile Digital Media Controller (M-DMC) มีความสามารถในการดึงเนื้อหาสื่อจากเครื่องหนึ่ง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องหนึ่ง
                        2.4 Mobile Digital Media Uploader (M-DMU) ทำหน้าที่ในการอัพโหลดเนื้อหาไปยัง M-DMS ตัวอย่างของ อุปกรณ์ M-DMU เช่น กล้องดิจิตอลและกล้องโทรศัพท์
                        2.5 Mobile Digital Media Downloader (M-DMD) ค้นหาและดาวน์โหลดเนื้อหาที่ M-DMS และเล่นเนื้อหาภายใน M-DMD หลังจากดาวน์โหลดตัวอย่างของอุปกรณ์ M-DMD เครื่องเล่นเพลงแบบพกพา
        3. หมวด Home Infrastructure Device (HID) หมวดนี้ถูกจัดเป็น 2 คลาส อุปกรณ์เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ HNDs และการทำงานร่วม MHDs
                        3.1 Media Interoperability Unit (MIU) เป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนแปลงเนื้อหาระหว่างรูปแบบสื่อที่จำเป็นสำหรับหมวด HND Device และหมวด MHD Device
                        3.2 Mobile Network Connectivity Function (M-NCF) เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมระหว่างเชื่อมต่อเครือข่าย MHD และการเชื่อมต่อเครือข่าย HND